แหล่งพลังงานของประเทศ การวางตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์เพื่ออนาคต

            จากความสำเร็จในการสำรวจปิโตรเลียมของประเทศไทย ทำให้ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะยังต้องพึ่งพาการนำเข้าทรัพยากรพลังงานจากต่างประเทศโดยเฉพาะน้ำมันดิบ แต่สัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากการนำเข้าก็ลดลงจากที่ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2524 ประมาณ 90% ของปริมาณการใช้พลังงานขั้นต้นของประเทศขึ้นอยู่กับน้ำมันเชื้อเพลิงนำเข้า ในปัจจุบันตัวเลขสัดส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงมาอยู่ที่ 49% ของปริมาณการใช้พลังงานขั้นต้น ทำให้ช่วยลดสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศและเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานของประเทศ

           สำหรับรายละเอียดของข้อมูลแหล่งพลังงานของประเทศไทย และการวางตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์เพื่ออนาคต สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
“แหล่งพลังงานของประเทศ”

การส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล

           การส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล (Bio-diesel) รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของไบโอดีเซลเป็นอย่างดี โดยเมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล จากปาล์มและเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2548 มีมติเห็นชอบแผนการปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดีเซลร้อยละ 10 ใน ปี2555 หรือ 8.5 ล้านลิตร/วัน ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบทั้งน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชใช้แล้วรวมถึงสบู่ดำ และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลผสมน้ำมันดีเซล สัดส่วน 5% (B5) ในบางพื้นที่ตั้งแต่ปี 2548

ปาล์ม

           ไบโอดีเซลช่วยประเทศชาติแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงานได้ เนื่องจากไบโอดีเซลมีคุณสมบัติ เทียบเคียงน้ำมันดีเซล และผลิตได้จากพืชน้พมันในประเทศจึงช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทสได้ การพัฒนาและการส่งเสริมไบโอดีเซลจึงช่วยลด การพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ นอกจากนี้ไบโอดีเซลยังช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศในด้านเกษตรอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

สบู่ดำ

           ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีภูมิประเทศเหมาะแก่การปลูกพืชน้ำมันหลายชนิด เช่น ปาล์มน้ำมัน สุบู่ดำ เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาด้านราคา และปริมาณผลผลิตแล้ว รัฐบาลจึงได้ส่งเสริมให้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบในการผลิดไบโดดีเซลซึ่งเป็นการสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ช่วยพยุงราคาปาล์มน้ำมัน อีกทั้งรัฐบาลยังมีแผนขยายการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศอีก ล้านไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรของประเทศรวมมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท/ปี** ช่วยสร้างงานในภาคเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาผลปาล์มน้ำมันดิบและน้ำมันปาล์มให้กับประเทศ

          ในด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมผิตไบโอดีเซลด้วยสิทธิประโยชน์ทั้งในด้านการลงทุนและด้านภาาีและนำไปสู่อุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปาลืมน้ำมัน ได้แก่ อุตสาหกรรมโอลีโอเคมืคอล โรงไฟ้ฟ้าชีวมล อุตสาหกรรม เหล่านี้ช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและช่วยลดอัตราการว่างงานของประชากรในประเทศ

         ในด้านสิ่งแวดล้อม จากผลการทดลองของสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การผสมไบโอดีเซลในสัดส่วนต่างๆ ช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ร้อยละ 10-20 และลดควันดำได้ร้อยละ 20 สำหรับไบดอดีเซล 100% ช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ร้อยละ20-40 และลดควันดำได้ถึงร้อยละ 60 National Biodiesel Board, USA ระบุว่าไบโอดีเซลช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่บรรยากาศซึ่งเป็นสาเหตุชองภาวะเรือนกระจกถึง78.5% เทียบกับการใช้ไบโอดีเซล คิดเป็นมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท ในปี2555**

           นอกจากนี้ไบโอดีเซลยังช่วยแก้ปัญหาการนำน้ำมันประกอบแาหารที่ใช้แล้วทั้งไขมันพืชและไขมันสัตว์มาใช้ซ้ำ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด ความดันโลหิตสูงเ็นพิษต่อระบบสมอง ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และอวัยวะสำคัญต่างๆ ทั้งยังเป็นสารที่ทำให้เกิดการกลายพันธ์และก่อกวนระบบฮอร์โมน โดยเฉพาะระบบฮอร์โมนทางเพศ จะทำให้เกิดความผิดปกติตายก่อนครบกำหนดอีกทั้งยังมีผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นๆตามมา

           ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานได้ร่วมกัยบภาคเอกชนดำเนินโครงการสาธิตการผลิตและการใช้ไบดอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วและน้ำมันปาล์มในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันมีการจำหน่ายน้ำมันดีเซล B5 แก่ประชาชนทั่วไปตามสถานีน้ำมันรวม 14 แห่ง ซึ่งราคา น้ำมันดีเซล B5 จะถูกกว่าราคาน้ำมันทั่วไป 75 สตางค์ต่อลิตร เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้บริโถคหันมาทดลองใช้น้ำมัน B5 ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชนอีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยชาติทั้งในแง่เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม


*คิดราคาดีเซล 20 บาท/ลิตร
**ในปี 2547 เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 4,000 ยูโร/ไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร)
***วันที่ 30 กันยายน 2548 ราคาคาร์บอน เท่ากับ 22.68 ยูโร/ตัน คาร์บอนไดออกไซตื (www.pointcarbon.com)

การส่งเสริมพลังงานทดแทนในภาวะราคาน้ำมันแพง

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (GASOHOL)

           ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่ลิตรละเกือบ 30 บาท ได้ทำลายสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์วงการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยและกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่ในทุกวงการได้พูดคุยถกเถียงกันหนาหู ถึงราคาที่ปรับขึ้นจนใกล้ถึงจุดวิกฤตอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมด และยังคงต้องพึ่งพิงน้ำมันอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงจำเป็นต้องพยายามหาแหล่งพลังงานมาใช้ทดแทนน้ำมัน และหาแนวทางการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน

           แม้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ผสมเอาทนอลในสัดส่วน 10% จะมีค่าความร้อนต่ำกว่าน้ำมันเบนซินประมาณร้อยล่ะ 3 ในขณะที่ประเทศชาติจะเกิดผลประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจจากการที่ไม่ต้องเสียเงินตราต่างประเทศ แต่ได้เงินตราจากน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ นอกจากนี้การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสามารถลดมลพิษทางอากาศจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณมากขึ้นทุกปีเป็นผลให้มีส่วนช่วยรักษาสุขภาพของประชาชนด้วย

           ดังนั้น การส่เสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ให้เพิ่มขึ้นจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศไทยในหลายมิติ กล่าวคือ มิติด้านพลังงาน ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน และลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการจัดซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ และมิติด้านเศรษฐกิจ คือมีกระแสเงินตราหมุนเวียนในประเทศกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดการจ้างงาน สนันสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นตามมา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาดีขึ้นตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ ราคามันสำปะหลัง พร้องทั้งยังส่งเสริมและสนันสนุนเชื่อเพลิงชีวภาพอย่างครบวงจร ทั้งการกำหนดมาตรฐานแก๊สโซฮอล์ การส่งเสริมการลงทุนสำหรับโรงงานผลิดเอทานอลและไบโอดีเซล การส่งเสริมการผลิตอ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ทั้งการกำหนดพื้นที่ปลูก การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งยังได้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับเอท่นอล เงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าน้ำมันเบนซิน 95 ถึง 1.50 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นการสร้าแรงจูงใจให้ประชาชนสนใจมาใช้กันมากขึ้น

การรณรงค์และประชาสัมพันธ์การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์

           กระทรวงพลังงานได้สร้างความมั่นใจว่าแก๊สโซฮอล์สามารถใช้ในรถยนต์ได้ทันที โดยผู้ผลิตรถยนต์เกือบทุกยี่ห้อได้ออกมายืนยันร่วมกันว่ารถยนต์ส่วนใหญ่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ทันที โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2548 บังคับให้รถยนต์ราชการและรัฐวิสาหกิจต้องเปลี่ยนไปใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และให้สถานีบริการน้ำมันของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต้องจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ด้วย

         แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ได้กำหนดเป้าหมายการใช้แก๊สโซฮอล์เป็นวันละ 1 ล้านลิตร จะไม่มีน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ธรรมดาจำหน่ายในประเทศไทยนั้น โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์และทำหน้าที่กำกับติดตาม แต่จากปัญหาปริมณผลผลิตอ้อยลดลง ทำให้มีปริมาณกากน้ำตาลไม่เพียงพอและราคากากน้ำตาลสูงขึ้นเป็นเหต่ให้ต้นทุนเอทานอลสูงกว่าราคาขาย ทำให้โรงงานเอทานอลหยุดผลิตเป็นบางช่วง แต่โรงงานเอทานอลที่ใช้มันสำปะหลังมีต้นทุนการผลิตเอทานอลต่ำกว่าโรงงานเอทานอลที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกกว่านั้นหมายความว่าจะมีปริมาณเอทานอลมากขึ้นซึ้งจะทำให้มีปริมาณน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนและสามารถสนองความต้องการของประชาชน

           ในส่วนแผนการผลิตเอทานอลเพื่อทดแทนสารเอ็มทีบีอีนั้น ปัจจุบัน ประเทศไทยนำเข้าสารเอ็มทีบีอี เฉลี่ยปีละ 1 ล้านลิตร คิดเป็นูลค่าประมาณ 3.5 พันล้านบาทต่อปี เพื่อใช้ผสมเฉพาะในน้ำมันเบนซินอกเทน 95 และหากแผนการผลิตเอทานอลที่รัฐบาลจะเร่งให้มีการใช้ได้ 1 ล้านลิตร จะสามารถทดแทนการนำเข้าสารเอ็มทีบีอี ได้ทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลมีแผนจะนำไปผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เพื่อแทนน้ำมันเบนซินออกเทน 91 โดยหากทดแทนได้สามารถลดการนำเข้าน้ำมันลงลดได้ร้อยละ 3 หรือสามารถประหยัดได้ประมาณ 18,000 ล้านบาท

การขยายสถานีบริกาจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์

           การให้มีการใช้น้ำแก๊สโซฮอล์กว้างขวางทั่วประเทศ จะต้องมีการสร้างจุดจำหน่ายให้เข้าถึงอย่างสะดวกและรวดเร็ว จึงได้เชิญบริษัท จำหน่ายน้ำมันมาหารือใช้มาตรการให้ค่าการตลาดการจำหน่ายน้ำมันแแก๊สโซฮออล์สูงกว่าเพื่อจูงใจเจ้าของสถานีบริการให้เปิดจุดจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น

ยอดใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ปัจจุบันเพิ่มขึ้น 300% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

           ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศ ที่รัฐบาลำลังเร่งผลักดันการใช้เชื้อเพลิงอื่น เป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน ปัจจัยที่ำให้การใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มสูงขึ้นนั้นมาจากหลายปัจจัย ประการสำคัญ คือ ประชาชนสามารถเปลี่ยนจากการเติมน้ำมันเบนซินมาเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้งหรือดัดแปลงเครื่องยนต์ จะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าเพิ่ม การที่ประเทศไทยหันมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์มากขึ้นก็ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ

พลังงานลม

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที 1 “พลังงงานลม”

           ลมเป็นแหล่งพลังงานสะอาดชนิดหนึ่งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติสามารถใช้ได้อย่างไม่มีวันหมดสิ้นใน ปัจจุบันได้มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบ ประเทศยุโรปได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นสำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมเพื่อผลิตไฟฟ้ายังมีค่อนข้างน้อยมาก อาจเป็นเพราะศักยภาพพลังงานลมในประเทศเราไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆและความรู้ทางด้านเทคโนโลยีกังหันลมสมัยใหม่ยังเป็นสิ่งที่ใหม่อยู่สำหรับการนำมาใช้งาน อย่างไรก็ตามหากเรามีพื้นฐานความรู้ทางด้านนี้บ้าง ก็สามารถที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกังหันลมและพลังงานลมเป็นพลังงานทางเลือกหรือร่วมกับแหล่งพลังงานอื่นๆ ได้ เพื่อความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า อย่างเช่นที่สถานีไฟฟ้าแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ตได้ทดลองใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าร่วมกับระบบเซลล์แสงอาทิตย์และต่อเข้ากับระบบสายส่งดังนั้นการศึกษา เรียนรู้ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมและแหล่งศักยภาพพลังงานลม ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล ซึ่งจะเป็นการช่วยประเทศไทยลดการนำเข้าแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ อีกทางหนึ่ง ทั้งยังช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย อ่านต่อ…


พลังงานแสงอาทิตย์

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 2 “พลังงงานแสงอาทิตย์”

           พลังงานแสงอาทิตย์ถูกใช้งานอย่างมากแล้วในหลายส่วนของโลก และมีศักยภาพในการผลิตพลังงานมากกว่าการบริโภคพลังงานของโลกในปัจจุบันหลายเท่าหากใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้โดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือสำหรับทำความร้อน หรือแม้แต่ทำความเย็น ศักยภาพในอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถูกจำกัดโดยแค่เพียงความเต็มใจของเราที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้ มีวิธีการมากมายที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้งานได้ พืชเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเคมีโดยใช้การสังเคราะห์แสง เราใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้โดยการกินพืชและเผาฟืน อย่างไรก็ตามคำว่า “พลังงานแสงอาทิตย์” หมายถึงการเปลี่ยนแสงอาทิตย์โดยตรงมากกว่าเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้งาน ประเภทพื้นฐานของพลังงานแสงอาทิตย์ คือ “พลังความร้อนแสงอาทิตย์” และ “เซลล์แสงอาทิตย์” อ่านต่อ…


พลังงานน้ำ

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที 3 “พลังงงานน้ำ”

           การใช้น้ำเพื่อผลิตพลังงานในประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ แม้ว่าในปัจจุบันโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทยจะไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ และบริเวณที่มีศักยภาพไม่เหมาะสมต่อการพัฒนา แต่ก็ยังมีพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพและเหมาะสมต่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำอีก อาทิ ไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านหรือชุมชน อ่างเก็บ น้ำเพื่อชลประทานของกรมชลประทานหรือขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ผลิตไฟฟ้าได้นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์จากด้านชลประทาน การประมงหรือการเกษตร ซึ่งจากการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพของไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กทั่วประเทศ พบว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กได้ถึง 25,500 เมกะวัตต์และเป็นไฟฟ้าพลังนั้นขนาดเล็กมากหรือไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้าน 1,000 เมกะวัตต์ และเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำท้าย อ่างเก็บน้ำอีกประมาณ 115 เมกะวัตต์


พลังงานขีวมวล

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 4 “พลังงานชีวมวล”

           ชีวมวล (Biomass) หมายถึงวัตถุหรือสสารที่ได้จากธรรมชาติหรือสิ่งมีชีวิตโดยไม่นับการกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งประเทศไทยเป็น ประเทศเกษตรกรรมมีผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง ยางพาราและน้ำมันปาล์ม เป็นต้น ในอดีตชีวมวลส่วนใหญ่ จะถูกทิ้งซากให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ภายในพื้นที่การเพาะปลูก หรือบางครั้งเกษตรกรกำจัดโดยการเผาทำลาย ซึ่งเป็นการสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม แต่อันที่จริงแล้วชีวมวลเหล่านี้มีคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีและให้ค่าพลังงานความร้อนในระดับที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และเนื่องจากภาวะถดถอยของแหล่งพลังงาน จึงได้มีการเสาะแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพและมีปริมาณที่มากพอ “ชีวมวล” จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ถูกพิจารณา เพื่อเป็นทางเลือกของแหล่งพลังงานใหม่ การใช้ประโยชน์จากพลังงานชีวมวล สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อน ไอน้ำหรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ดังนั้นการนำชีวมวลมาใช้จึงช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศใน การนำเข้าเชื้อเพลิงและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น นอกจากนี้การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่สร้างสภาวะเรือนกระจก เนื่องจากการปลูกทดแทนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการหมุนเวียนและไม่มีการปลดปล่อย สำ หรับในประเทศไทยนั้นนอกเหนือจากพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้วพลังงานชีวมวลจัดได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการใช้เป็นพลังงานหลักทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล


พลังงานก๊าซชีวภาพ

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 5 “พลังงานก๊าซชีวภาพ”

           ประเทศไทยมีน้ำเสียหรือของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตในภาคส่วนต่างๆ อาทิ ของเสียและน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ แหล่งน้ำเสียจากชุมชน ซึ่งต้องมีการบำบัดให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมการ ปล่อยของเสีย /น้ำเสียสู่พื้นที่สาธารณะตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปริมาณมากพอสมควร และปัจจุบันวิธีการจัดการของเสียและน้ำ เสียมีอยู่หลายรูปแบบ โดยกระทรวงพลังงานได้ให้ความสนใจในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ (Anaerobic digestion) เนื่องจากเป็นวิธีการบำบัดที่ก่อให้เกิดก๊าซชีวภาพ ที่ประกอบด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ร้อยละ 50-70 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ร้อยละ 30-50 ก๊าซอื่นๆ เช่น แอมโมเนีย (NH3) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)และไอน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถนำ มาใช้เป็นพลังงานทดแทนการนำ เข้าเชื้อเพลิงและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องน้ำเสีย กลิ่น และปัญหาโลกร้อนจากภาวะเรือนกระจก รวมถึงผลพลอยได้จากตะกอนปุ๋ยหลังจากการผลิตก๊าซชีวภาพ


พลังงานขยะ

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 6 “พลังงานขยะ”

           ปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของเมืองและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ในขณะที่หน่วยงานรับผิดชอบในการกำจัดขยะส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณเครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่ที่ใช้ในการกำจัดขยะ จึงทำให้การกำจัดขยะส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนขยะชุมชนเป็นปัญหาที่หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขหากไม่มีการจัดการที่ดีและเป็นระบบจะส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน ดังนั้น การนำขยะชุมชนมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนในรูปไฟฟ้าหรือความร้อนเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาในการจัดการสิ่งแวดล้อม และในสภาวะที่ประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งนับวันจะมีปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้น ขยะชุมชนเป็นชีวมวลชนิดหนึ่งซึ่งมีศักยภาพในการนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงาน ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณมากและไม่ต้องซื้อหา ในขณะที่ปัจจุบันมีการนำมาขยะมาใช้เพื่อผลิตเป็นพลังงานน้อยมาก ดังนั้นกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงได้จัดทำเอกสารคู่มือการผลิตพลังงานจากขยะ เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้สนใจในการนำขยะชุมชนมาบำบัดและผลิตพลังงาน


เชื้อเพลิง เอทานอล

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 7 “เชื้อเพลิง เอทานอล”

           เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการหมักพืชเพื่อเปลี่ยนแป้งจากพืชเป็นน้ำตาลแล้วเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่นจะเรียกว่า เอทานอล (Ethanol) เอทานอลที่นำ ไปผสมในน้ำ มันเพื่อใช้เติมเครื่องยนต์เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 99.5% โดยปริมาตร ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้


เชื้อเพลิง ไบโอดีเซล

คู่่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 8 “เชื้อเพลิง ไบโอดีเซล”

           ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันจากพืช หรือไขมันจากสัตว์ โดยไบโอดีเซลมีคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายได้เองตามกระบวนการทางชีวภาพ(biodegradable) และไม่มีพิษ (nontoxic) ดังนั้นจึงไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไบโอดีเซลสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงกับยานพาหนะโดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์เนื่องจากมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล อีกทั้งยังช่วยรักษาสภาพเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้นานกว่า เนื่องจากออกซิเจนในไบโอดีเซลจะช่วยให้การสันดาปที่สมบูรณ์กว่าน้ำมันดีเซล มีควันดำและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์น้อย ช่วยลดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งลดการอุดตันของระบบไอเสีย เนื่องจากองค์ประกอบของไบโอดีเซลไม่มีธาตุกำมะถัน แต่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก จึงช่วยการเผาไหม้ได้ดีขึ้น และลดมลพิษจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนนอกไซด์และฝุ่นละออง จึงทำให้ไบโอดีเซลได้รับความสนใจยิ่งขึ้นกระบวนการ